การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคค้นพบ (Discovery
Method)
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่น ผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผู้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเหมาะสำหรับวิชา
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่นๆ ได้
ในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การค้นพบที่มีแนวทาง (Guide
Discovery Method) เป็นวิธีการที่ผู้สอนนำผู้เรียน
เข้าสู่เนื้อหาโดยการใช้คำถามที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมและอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความคิดรวบยอดหรือหลักการ
2. การค้นพบด้วยตนเอง (Pure
Discovery Method) เป็นวิธีการที่คาดหวังว่าผู้เรียน
จะไปสู่ความคิดรวบยอดและหลักการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับคำแนะนำจากผู้สอน
กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองจะมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือคิดลงมือ
กระทำด้วยตนเองหลายเรื่องหลายด้านสรุปความคิดรวบยอดที่หลากหลายมาผูกโยงเป็นหลักการที่ผู้เรียนสร้างขึ้นได้เองและนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต
การคิดวิเคราะห์ ทำให้เกิดการเรียนรู้และ
สามารถสรุปหรือค้นพบหลักการ
กฎเกณฑ์ประเด็นสำคัญหรือความจริงได้ด้วยตนเอง
2. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ
และสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่างๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา
หรือปัญหา ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย เช่น
การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย
การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ มีการกำหนดปัญหา
ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ
ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย
การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ
ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา
แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสมจากเหตุผลดังกล่าว
ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆ ที่ใช้
แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้ ข้อสรุปใหม่
ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
การสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery) คือ การสอนที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเองสิ่งที่ค้นพบนั้นมีผู้ค้นพบมาก่อนแล้วและผู้เรียนก็ค้นพบความรู้หรือคำตอบนั้นด้วยตนเองไม่ใช่รู้จากการบอกเล่าของคนอื่น
หรือจากการอ่านคำตอบ ในการสอนจะใช้สถานการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญกับปัญหา
ในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะใช้ข้อมูลและปฏิบัติในลักษณะตรงกับธรรมชาติของวิชาและปัญหานั้นการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนนี้เป็นผลมาจากที่ได้เผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์
แล้วรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอาจจะใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร
การทดลองการสอบถามจากผู้รู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อได้ข้อมูลมากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อลงข้อสรุปเป็นคำตอบหรือความรู้ที่ต้องการ
จึงยุติการศึกษาค้นคว้าในประเด็นนั้น การเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบความรู้นี้
เป็นกระบวนการอย่างเดียวกับที่นักนักคณิตศาสตร์ศึกษาคณิตศาสตร์
นักเคมีศึกษาค้นคว้าทางเคมี นักประวัติศาสตร์ศึกษาประวัติศาสตร์
นักภาษาศึกษาทางด้านภาษา หรือศิลปินศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะ
จะเห็นว่าวิธีการสอนแบบนี้สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ทุกวิชา
เพราะเป็นวิธีการที่เน้นกระบวนการเรียนรู้
โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการเรียน
หรือเป็นผู้กระทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เอง ทั้งนี้เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับปวงชน ซึ่งสอดคล้องกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542 มาตรา 8 และ มาตารา 22
ข้อดีของการสอนแบบค้นพบความรู้
1. การที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้สามารถจดจำความรู้นั้นได้นาน
มีความ
ภูมิใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องนั้นต่อไปอีก
2. ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะและเจตคติที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสมองระดับสูง
ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
และการหยั่งรู้ (Intuitive
Thinking)
4. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะการอ้างอิงโดยใช้การคิดอย่างมีเหตุผล
ทั้งการคิดแบบอุปนัย (Inductive Thinking) และการคิดแบบนิรนัย (Deductive
Thinking)
5. ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ตัวเองศึกษา
ข้อจำกัดของการสอนแบบค้นพบความรู้
1. เป็นวิธีการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนค่อนข้างมาก
และผู้เรียนแต่ละ
คนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
2. เอกสารตำราและสื่อการเรียนอื่นๆ
ในปัจจุบัน จะผลิตขึ้นในรูปของการบอกความรู้
ให้กับผู้เรียนมากกว่าการให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมักจะค้นพบสิ่งต่างๆ
ที่นอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการให้ค้นพบ ทำให้ขอบเขต
ของการศึกษาค้นคว้าขยายกรอบกว้างมากเกินไป
4. ผู้เรียนบางคนไม่สามารถค้นพบความรู้ตามที่มุ่งหวังไว้
ทั้งนี้อาจมาจากขาดทักษะ
พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้โดยวิธีนี้
การเรียนรู้แบบผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเองหรือ Discovery
Learning จะเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และพบคำตอบด้วยตนเองรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนขอให้ดูจุดอ่อนจุดแข็งเพื่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนการสอน
ข้อดีของรูปแบบการเรียนแบบผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล
2. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำในสิ่งที่ตนค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
4. ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มเมื่อผู้เรียนได้ร่วมกันศึกษาเพื่อหาคำตอบ
5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ถูกกำหนดโดยผู้สอน
6. ทักษะที่เรียนจากการค้นพบด้วยตัวผู้เรียนจะถ่ายทอดไปยังการเรียนเรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น
ข้อควรระวังคือ
1. การเรียนรู้แบบนี้ต้องใช้เวลาในการสอนมาก
เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหา
คำตอบมากกว่าการบอกคำตอบ
2. การเรียนรู้แบบนี้อาจไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันมาก
เพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้เมื่อเห็นเพื่อนทำได้
3. การสอนแบบค้นพบคำตอบด้วยตนเองอาจเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอนและเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
4. การเรียนรู้แบบนี้ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐานอาจไม่เหมาะกับผู้เรียนที่อยู่ในช่วงชั้นที่ยังไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นนามธรรม
5. ผู้เรียนที่มีความสามารถต่ำกว่าเฉลี่ยจะเกิดความยุ่งยากในการเรียน
แนวทางการจัดกิจกรรมการสอนแบบค้นพบความรู้
การสอนแบบค้นพบความรู้ด้วยตนเองดังกล่าว
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีนี้
1. ผู้สอนจะต้องรอบรู้ในวิชานั้น
เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือให้คำแนะนำใน
กรณีที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อน
2. การกำหนดปัญหาและสถานการณ์เพื่อให้เกิดการค้นพบความรู้
จะต้องวางแผน
อย่างรอบคอบ
และมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน
3. จะต้องมีอุปกรณ์
สื่อการเรียนและแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนอย่างเหมาะสม
4. ต้องมีการประเมินผลเพื่อพิจารณาทั้งในด้านความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียน
5. ควรสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การค้นพบความรู้ของตนกับผู้อื่นทั้ง
เพื่อนในชั้นเรียน เพื่อนต่างโรงเรียน ครู อาจารย์ หรือผู้รู้อื่น ๆ
6. การค้นพบความรู้ได้นั้น
นอกจากผู้เรียนต้องมีเวลามากพอแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานความรู้ที่เพียงพอ
มีความสามารถในการสร้างความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการสังเกต
การรวบรวม จัดหมวดหมู่ ตีความหมาย และลงข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมด
ดังนั้นในระยะแรกของการใช้การสอนวิธีนี้ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นก่อน
วิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส
เป็นการนาทฤษฎีการสอนของเจอร์รูม บรูเนอร์ (Jerome
Bluner) ผู้สนับสนุนวิธีการ
สอนแบบค้นพบ
และทฤษฎีการเรียนรู้โดยการกระทำของจอห์น ดิวอี้ (John
Dewey) โดยนำ
วิธีการจัดการเรียนรู้ 2 แบบมาประยุกต์ให้เป็นวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความคำตอบ
และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
และสามารถนาทักษะกระบวนการไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้วิธีดังกล่าวมาจากแนวคิดวิธีสอนแบบค้นพบ(Discovery
Method) กระบวนการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery
Learning Process : DLP) โดยใช้ทักษะ 7 ส
ภาพประกอบ
รูปแบบวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ 7 ส.
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นนำ
สงสัย (การนำเข้าสู่บทเรียน
ครูสร้างสถานการณ์หรือคำถามให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย
ในเรื่องที่จะเรียน)
สังเกต (ฝึกให้ผู้เรียนมองหารายละเอียดของเรื่องที่เกิดความสงสัย)
2. ขั้นสอน
สัมผัส (ฝึกให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้)
สำรวจ (ฝึกให้ผู้เรียนมองหาความสัมพันธ์
ความเชื่อมโยง ความเกี่ยวข้องของเรื่องที่จะเรียน)
สืบค้น (ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
หลักการ แนวคิด)
3. ขั้นฝึกทักษะ
สั่งสม (ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองสู่ความชำนาญโดยการนำแนวคิดมาใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย)
4. ขั้นสรุป
สรุปผล (ให้ผู้เรียนรวบรวมแนวคิดมาสรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง)
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ
7 ส แบ่งการวัดผลและประเมินผลเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.การวัดและประเมินผลทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
วิธีการวัด
1.ตรวจผลงาน เช่น แบบฝึก ใบงาน แบบทดสอบ
2.สังเกตความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
เครื่องมือวัด
1.แบบฝึก ใบงาน แบบทดสอบ
2.แบบวัดความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เกณฑ์การประเมิน
1. การประเมินแบบทดสอบ แบบฝึก ใบงาน ใบกิจกรรม
1.1 ทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกได้ถูกต้อง
(คะแนนรายข้ออยู่ในดุลยพินิจของครู)
1.2 ใบงานหรือใบกิจกรรม
(เกณฑ์การประเมินตามความเหมาะสมกับลักษณะของงาน และอยู่ในดุลยพินิจของครู)
2.
การวัดความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ให้สังเกตจากพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
กรรณิการ์ จักรกรด (2555
: 13-30) ได้กล่าวถึงการสอนแบบค้นพบ (Discovery
Method) ไว้ว่า
เป็นกระบวนการสอนที่เน้นการศึกษาด้วยตนเอง กำหนดแนวทางเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
และทางการทดลองหรือทดสอบด้วยตัวนักเรียนเอง จนกระทั่งได้ ความคิดรวบยอด
การสอนวิธีนี้ผู้สอนจะต้องไม่บอกหลักการสำคัญของเรื่อง หรือหลักการแก้ปัญหาก่อนที่
นักเรียนจะค้นพบได้เอง ลักษณะการสอน แบบค้นพบมี 2 แบบ
คือ 1) การค้นพบจากการแนะแนวทาง (GuidedDiscovery) เป็นการสอนที่ครู
จะต้องดึงความรู้หรือประสบการณ์เดิมในตัวนักเรียนออกมาใช้โดยอาศัยคำถาม
หรือการอธิบาย เพื่อเป็น แนวทางให้นักเรียนสามารถค้นพบความรู้หลักการต่างๆ
และทำให้เกิดความคิดรวบยอด 2) การค้นพบ
อย่างแท้จริง (Pure Discovery or Unguided Discovery) เป็นการสอนที่ครูไม่ต้องอธิบาย แต่อาจ แนะนำบางส่วนที่เกี่ยวกับ
คำศัพท์หรือข้ออ้างอิง โดยครูตั้งความหวังไว้ว่านักเรียนจะค้นพบความคิดรวบ ยอด
หลักการต่างๆ ด้วยตนเอง สรุป การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery
Method) เป็นกระบวนการสอนที่เน้นการศึกษาด้วยตนเอง
กำหนดแนวทางเพื่อนาไปสู่การแก้ปัญหา
และทางการทดลองหรือทดสอบด้วยตัวนักเรียนเองจนกระทั่งได้
ความคิดรวบยอดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่างๆ
ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา
ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย เช่น
การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัยการที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบมีการกำหนดปัญหาตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูลทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ
ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วยการที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ
ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
จากเหตุผลดังกล่าว
ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆที่ใช้
แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้ ข้อสรุปใหม่
ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2. ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
2.1 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้
แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้
แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนาข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไป
ใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง
โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
3. ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอาจใช้
วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน
เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ประโยชน์
1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ
เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
4. ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
5. ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
6. ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
7. ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เช่น การหาข้อมูล การวิเคราะห์และสรุป
ข้อความรู้
8. เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด
มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง
การจัดการเรียนสอนแบบค้นพบ
เป็นการเรียนการสอนลักษณะเดียวกับแบบการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry
Method) ซึ่งมีขั้นตอนในการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ
1. การนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรม
ประกอบด้วย การซักถามปัญหา ทบทวนความรู้เดิม
กำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนและเป้าหมายที่ต้องการ
2. การสำรวจ
เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทดลอง การสำรวจ การสืบค้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติเองโดยมีครูเป็นเพียงผู้แนะนำหรือผู้เริ่มต้น
3. การอธิบาย กิจกรรมประกอบด้วย
การนำข้อมูล ผลการทดลองมาร่วมกันอภิปราย
4. การลงข้อสรุป
เป็นการสรุปเนื้อหาหรือข้อมูลการทดลองเพื่อให้เห็นถึงความเข้าใจ
ทักษะ กระบวนการ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสปรับแนวความคิดหลักของตนเองในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง
5. การประเมินผลเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนตรวจสอบแนวคิดหลักที่ตนเองได้เรียนรู้มาแล้ว
โดยการประเมินผลด้วยตนเอง ทั้งนี้ จะรวมถึงการประเมินผลของครูต่อการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย
สรุป
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.การค้นพบที่มีแนวทาง(Guide Discovery
Method) 2.การค้นพบด้วยตนเอง(Pure Discovery
Method) กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองจะมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือคิดลงมือกระทำด้วยตนเองหลายเรื่องหลายด้านสรุปความคิดรวบยอดที่หลากหลายมาผูกโยงเป็นหลักการที่ผู้เรียนสร้างขึ้นได้เองและนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ
ที่มา
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ . 21วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด พิมพ์ครั้งที่ 2
ประภัสรา โคตะขุน.(2556). (https://sites.google.com/site/lifevantageprapasara/j2-1).เรียนรู้ไปกับน้อง
ปริญญ์.เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น