ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory
of Cooperative and Collaborative Learning)
(1)ทิศนา
แขมมณี (2550 : 91-92)ได้รวบรวมความหมาย
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative and
Collaborative Learning) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative
Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative
Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงาน ได้แก่Pre – Structure , Task –
Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า
มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่จำกัดมากกว่า
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจน ส่วน Collaborative
Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า
เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task)เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative
Learning
Nagata and Ronkowski (1998)
ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative
Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียกว่า Cooperative
Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นชนิดหนึ่งของCollaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson
and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน
(2) อัชรา เอิบสุขสิริ (2550 : 94-96)
ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ Cooperative and
Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative
Learning กับCollaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative
Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่ Pre – Structure , Task
– Structure และ Content Structure โดยCooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า
มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative
Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า
เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure
Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่าCollaborative
Learning
Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก
ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา
สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
(3) พรหมมา วิหกไพบูลย์ (2558) (http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html). ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or
Collaborative Learning) ไว้ดังนี้ แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3
– 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน
ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน
มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม
และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ” เป็นวิธีการ
จัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย
โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน
เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน
สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม
ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.(2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุขสิริ. เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู
. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พรหมมา วิหกไพบูลย์.(2558).(http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html).:[ออนไลน์] ทฤษฎีการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อวันที่ 19
กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น