วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)



(1) ทิศนา   แขมมณี (2551:48) กลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดมีความเชื่อดังนี้
                 1. มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัว การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอก
                 2.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการได้รับประสบการณ์
                 3.การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
                 4.การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส การจำความคิดเดิมและขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ


(2) รศ.ดร.ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์ (2546:59) ทฤษฎีการเชื่องโยงมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่า การลองถูกลองผิด ทฤษฎีการเชื่อมโยงจะเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง ผู้เรียนจะต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านการมองเห็นความแตกต่าง

(3) ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 (http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97). ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นี้ว่า

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่าน ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ( Apperception ) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า คนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) สามารถเกิดการเรียนรู้ได้จากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพราะบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้     ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

ที่มา
ทิศนา   แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รศ.ดร.ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ :ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2. (http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97).:[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561      


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ Jutatip Deelamai  (2557)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ดังนี้ ความหมายของ  “ น...